ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน Print

ข้อมูลทั่วไป 

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลโพธาราม (ชุมชนวัดบ้านสิงห์)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่เลขที่  107  หมู่ที่ 4  ตำบลบ้านสิงห์  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  รหัสไปรษณีย์  70120
โทรศัพท์ 0 3274 4054 โทรสาร 0 3274 4054    
E-mail This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี  เขต  2
เปิดสอน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่  2  ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 
เขตพื้นที่บริการ มีเขตพื้นที่บริการ  3  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่ 4 , 5  ตำบลบ้านสิงห์  และหมู่ที่  5

ตำบลบ้านฆ้อง

ข้อมูลด้านการบริหาร 

ผู้อำนวยการ   นายสงัด ผ่องดี
 วุฒิการศึกษาสูงสุด   ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
   

ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่  
วันที่  29  ตุลาคม  พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน

รองผู้อำนวยการ       นายเนติ ปริยาพร
 วุฒิการศึกษาสูงสุด   ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
   

ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่  
วันที่  20  ธันวาคม  พ.ศ.2566 จนถึงปัจจุบัน

 

ปรัชญาของโรงเรียน 


นิมิตตํ  สาธุรูปานํ  กตญฺญูกตเวทิตา

ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี

 

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน 


ดอกบัวสีชมพูล้อมรอบด้วยตัวอักษร  "อ"

 


สีประจำโรงเรียน 


สี
ฟ้า-น้ำเงิน

คำขวัญของโรงเรียน 


รู้หน้าที่   มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม  นำวิชาการ  ประสานสังคม

 

อัตลักษณ์ของโรงเรียน 

"งดงามตามมารยาทไทย"

 

เอกลักษณ์ของโรงเรียน 

"ดนตรี - นาฏศิลป์"

 

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน 


จัดการศึกษาได้มาตรฐาน  ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาในศตวรรษที่ 21

 

พันธกิจของโรงเรียน 

1.    จัดบริการบริหารจัดการศึกษาให้ผู้เรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีคุณภาพ โดยวางรากฐานความมั่นคงของการเป็นพลเมืองดีของชาติ
2.    พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
3.    พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถเต็มตามศักยภาพและมีความเป็นเลิศ เพื่อสร้างขีดความสามารถ      ในการแข่งขัน
4.    พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพด้วยกิจกรรมที่หลากหลายตามความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ มีสมรรถนะด้านภาษาและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
5.    จัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
6.    ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือด้านการศึกษา สร้างความเท่าเทียมด้านโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผู้เรียนได้รับบริการทั่วถึงตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
7.    บริหารจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับความปลอดภัยจากภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ เพื่อรองรับวิถีใหม่
8.    ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา       โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
9.    สนับสนุนงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา
10.    พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
11.    ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทักษะงานอาชีพ และด้านดนตรี-นาฏศิลป์

เป้าประสงค์ของโรงเรียน 

1.    ผู้เรียนเรียนทุกระดับชั้น มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมี           ความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
2.    ผู้เรียน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สามารถวางแผนในการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำ และสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3.    ผู้เรียนมีความสามารถเต็มตามศักยภาพและมีความเป็นเลิศในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทักษะงานอาชีพ และด้านดนตรี-นาฏศิลป์ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
4.    ผู้เรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
5.    ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และรองรับวิถีชีวิตใหม่ รวมถึง    การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
6.    ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะ มีความรู้ มีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้ในระดับดี
7.    ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผลิตสื่อและนวัตกรรมสามารถออกแบบการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหลักสูตร และเชื่อมโยงนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ได้อย่างมีคุณภาพ
8.    ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
9.    บริหารจัดการศึกษาทุกระดับด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลมีความถูกต้อง รวดเร็ว ตรวจสอบง่าย

กลยุทธ์ของโรงเรียน 

กลยุทธ์ที่ 1  ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
กลยุทธ์ที่ 2  สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
กลยุทธ์ที่ 3  ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 4  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา